GS SketchUp
รู้จักกับส่วนประกอบของโมเดล
องค์ประกอบของวัตถุใน Google SketchUp
วัตถุหรือรูปทรงใน Google sketchup จะปรากฏไปด้วยเส้นและพื้นผิวเป็นหลัก โดยพื้นผิวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการบรรจบกันของเส้นตั้งแต่ 3 เส้นขึ้นไป ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่เราวาดเส้นมาบรรจบกันในระนาบเดียวกันก็จะเกิดพื้นผิวขึ้นภายในขอบเขตของเส้นเหล่านั้น และในส่วนของพื้นผิวเองจะมีด้วยกันอยู่ 2 ด้านคือ พื้นผิวด้านนอกและพื้นผิวด้านใน
รูปแบบการแสดงโมเดลบนจอภาพ
ในบางครั้งหากเราต้องการแสดงชิ้นงานที่สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ที่ต่างกัน เช่นต้องการใช้ชิ้นงานที่โปร่งใสเพื่อดูองค์ประกอบด้านใน หรือต้องการแสดงเฉพาะโครงสร้างเพื่อให้เห็นการออกแบบโครงสร้างที่ชัดเจน หรือเน้นเส้นขอบให้เข้มขึ้นเพื่อเน้นส่วนประกอบนั้น เนื่องจาก Google SketchUp มี 2 รูปแบบในการแสดงผล คือ พื้นผิว (Face) และเส้นขอบ (Edge) จีงสามารถปรับปรุงรูปแบบการแสดงชิ้นงานได้ 2 แบบคือ
1. รูปแบบการแสดงพื้นผิวระนาบ (Face Style)
2. รูปแบบการแสดงเส้นขอบ (Edge Style)
รูปแบบการแสดงพื้นผิว (Face Style)
เราสามารถปรับรูปแบบการแสดงชิ้นงานได้จากกลุ่มเครื่องมือ Style ในเมนูบาร์ เรียกใช้งานได้จากคำสั้ง View —> Toolbars —> Style นอกจากนี้ยังเรียกใช้ผ่านคำสั่ง View —> FaceStyle ได้อีกด้วย โดยมีวิธีการปรับแต่งใช้งานมีดังนี้
-
X-ray : การแสดงชิ้นงานในรูปแบบโปร่งใส มองทะลุเข้าไปด้านในได้
-
Back Edges : แสดงชิ้นงานให้เห็นเส้นโครงสร้าง ด้านหลังด้วย เมื่อซูมใกล้จะเห็นได้ชัดเจน
-
Wireframe : แสดงชิ้นงานเฉพาะเส้นขอบเป็นโครงสร้าง
-
Hidden Line : แสดงชิ้นงานแบบไม่แสดงสีหรือพื้นผิวใดๆ บนชิ้นงาน
-
Shadded : แสดงชิ้นงานโดยใส่สีพื้นผิวชิ้นงาน
-
Shaded with textures : แสดงชิ้นงานแบบแสดงสีและพื้นผิวบนชิ้นงาน ส่วนใหญ่ในการสร้างโมเดลจะใช้ Style นี้เป็นหลัก
-
Monochrome : แสดงชิ้นงานตามสีพื้นฐานของโปรแกรม
รูปแบบการแสดงเส้นขอบ (Edge Style)
นอกจากกลุ่มเครื่องมือ Face Style เรายังสามารถแสดงชิ้นงาน โดยเน้นการแสดงผลที่เส้นขอบของชิ้นงาน โดยใช้คำสั่ง View —> Edge Style การแสดงเส้นของที่ต้องการ ดังนี้
-
Display Edges : เป็นการกำหนดให้แสดงเส้นขอบ
-
Profiles : เน้นการแสดงด้านในตัวชิ้นงาน
-
Depth Cue : เน้นเส้นขอบที่อยู่ด้านนอกของชิ้นงาน
-
Extension : ขยายเส้นขอบให้เลยออกมานอกชิ้นงาน นิยมใช้ในการออกแบบบ้าน อาคาร เป็นลายเส้นสเก็ตช์
การเลือกส่วนประกอบของโมเดล
การเลือกวัตถุด้วยเครื่องมือ Select
วัตถุใน Google SketchUp จะแบ่งออกเป็น 6 รูปแบบด้วยกันคือ เส้น (Edge) พื้นผิว (Face) วัตถุที่ถูกรวมกลุ่ม Group/component เส้นนำหรือเส้นไกด์ Guide Line ข้อความ Text เส้นวัดขนาด Dimension Line และแผ่นหน้าตัด Section Plane เราสามารถเลือกวัตถุต่างๆ เหล่านี้ได้ด้วยเครื่องมือ Select โดยเลือกจากไอคอน Select หรือกดคีย์ Spacebar หรือเลือกจากเมนู Tool Select
การเลือกวัตถุด้วยการคลิกเม้าส์
การเลือกวัตถุดด้วยการคลิกจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกันดังนี้
1. การคลิกเม้าส์ 1 ครั้งที่วัตถุจะเป็นการเลือกเฉพาะวัตถุที่ถูกคลิกเลือกเท่านั้น
2. การดับเบิลคลิกที่วัตถุจะแบ่งย่อยออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
2.1 ดับเบิลคลิกที่พื้นผิวจะเป็นการเลือกพื้นผิวและเส้นที่อยู่รอบๆพื้นผิวที่ถูกเลือก
2.2 ดับเบิลคลิกที่เส้นจะเป็นการเลือกเส้นและพื้นผิวอยู่ติดกับเส้นที่ถูกเลือก
2.3 ดับเบิลคลิกที่วัตถุที่เป็น Group/component จะเข้าสู่โหมดแก้ไข Group/component
2.4 ดับเบิลคลิกที่ข้อความ/เส้น วัดขนาดจะเป็นการแก้ไขข้อความ
2.5 ดับเบิลคลิกที่แผ่นหน้าตัดจะเป็นการเปิด/ปิด การทำงานของแผ่นหน้าตัด
3. การทริปเปิลคลิกที่วัตถุ (คลิกเม้าส์ 3 ครั้งติดกัน) จะเป็นการเลือกวัตถุทั้งหมดบนรูปทรงเดียวกัน
การเลือกวัตถุด้วยการแดร็กเม้าส์ (Drag Mouse)
การแดร็กเม้าส์หรือการคลิกแล้วลากเม้าส์เพื่อเลือกวัตถุจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ด้วยกันดังนี้
1. การคลิกแล้วลากเม้าส์จากขวาไปซ้าย วัตถุที่อยู่ในขอบเขตของการบากเม้าส์จะถูกเลือกทั้งหมด
2. การคลิกแล้วลากเม้าส์จากซ้ายไปขวา วัตถุที่ขอบเขตของเม้าส์ลากผ่าน จะถูกเลือกทั้งหมด
การใช้คีย์ Ctrl, Shift และ Ctrl+Shift ร่วมกับเครื่องมือ Select
เราสามารถกดคีย Ctrl, Shift และ Ctrl+Shift ร่วมกับการใช้เครื่องมือ Select จะช่วยให้เลือกวัตถุหลายชิ้นเฉพาะส่วนที่ต้องการได้โดยมีรูปแบบการใช้งานดังนี้
-
Ctrl ใช้เพื่อเลือกวัตถุเพิ่ม
-
Shift ใช้เพื่อลดวัตถุที่ถูกเลือก
-
Ctrl+Shift ใช้เพื่อเลือก/ลดวัตถุ
นอกจากนี้ เรายังสามารถเลือกวัตถุทั้งหมดบนพื้นที่การทำงานได้โดยการใช้คำสั่ง Edit —> Select All หรือกดคีย์ Ctrl+A และยกเลิกการเลือกวัตถุได้ด้วยคำสั่ง Edit —> Select None หรือกดคีย์ Ctrl+T